วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์


      การบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์


การดูแลรักษาและทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์

                        http://tbn0.google.com/images?q=tbn:-Yxr6wldd17tZM:http://school.obec.go.th/bothong/pic/Dsc004911.jpg
 .......................................................................
การดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องมีขั้นตอนดังนี้
          1.ตรวจเช็คอุปกรณ์ว่าอยู่ครบหรือไม่
          2.
ตรวจดูว่าเครื่องสามรถใช้งานได้หรือไม่
          3.
ห้ามให้นักศึกษานำอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิดเข้ามาทานในห้อง  เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายกับผู้ใช้ เนื่องจากน้ำจะถูกใส่เครื่องคอมพิวเตอร์
          4.
ถ้าเครื่องทำงานไม่ปกติ  ให้ถอดปลั๊กออกอย่างรวดเร็ว
          5.
ไม่ให้วางแก้วน้ำ  สารเคมี  วัตถุที่เป็นเหล็กโลหะไว้บนหน้าจอ
          6.
อย่าหันหน้าจอไปมา
          7.
ระวังอย่าให้สายไฟพันกันเยอะเกินไป
          8.
เมื่อใช้งานเสร็จให้ปิดเครื่องทุกครั้ง
          9.
รักษาความสะอาดของห้องเสมอ เพื่อไม่ให้ฝุ่นเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์

 
การทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์

จอภาพ  หลังจากที่เราใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ควรมีการดูแลรักษาด้วยวิธีง่าย ๆ แต่ควรปฏิบัติเป็นประจำสม่ำเสมอ คือ การทำความสะอาด
จอภาพโดยใช้ผ้านุ่มชุบน้ำสบู่อ่อน เช็ดถูบริเวณจอแก้วและโดยรอบ จากนั้นเช็ดออกด้วยผ้าแห้งที่สะอาด
          
หากเป็นจอภาพที่มีการเคลือบสารป้องกันการสะท้อนแสง ไม่ควรเช็ดบนจอแก้วบ่อยจนเกินไป เพราะจะทำให้สารที่เคลือบไว้ลอกออก และห้ามใช้น้ำยาทำความสะอาด หรือสเปรย์ใด ๆ

แป้นพิมพ์  ควรมีการเคาะฝุ่นออกบ้างโดยจับค่ำลงใช้แปรงหรือที่เป่าลม ปัดเศษผงออกแล้วเช็ดด้วยผ้านุ่มชุบน้ำสบู่อ่อนเช่นเดียวกัน

เมาส์  ควรเปิดฝาปิดลูกกลิ้งออกมาทำความสะอาดลูกกลิ้งและแกนหมุนที่สัมผัสกับลูกกลิ้ง

กล่องซีพียู  ควรมีการปัดฝุ่นหรือเช็ดทำความสะอาดเช่นเดียวกันโดยเฉพาะบริเวณด้านหน้าช่องใส่แผ่นดิสก์

อุปกรณ์อื่น ๆ  ให้ศึกษาได้จากคู่มือการใช้งานและวิธีดูแลรักษา

ข้อห้ามและข้อปฏิบัติ ในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง  

       1.  
ไม่ควรนำอาหารหรือเครื่องดื่มมารับประทานในระหว่างที่ใช้เครื่อง
       2.  
ระวังอย่าทำน้ำหกใส่อุปกรณ์
       3.  
อย่านำแท่งแม่เหล็กหรือแหล่งกำเนิดอำนาจแม่เหล็กเข้าใกล้จอภาพ    
       4.  
ระวังอย่าให้แสงแดดจ้า ส่องกระทบอุปกรณ์โดยตรง
       5.  
ไม่ควรเก็บอุปกรณ์ไว้ในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงโดยเฉพาะเกิน 40 องศาเซลเซียส
       6.  
ไม่ควรใช้งานในบริเวณที่มีฝุ่นมาก
       7.  
อย่าพยายามถอดชิ้นส่วนอุปกรณ์ออกจากกัน หากไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ
       8.  
ควรมีการดูแลรักษา และทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ

การบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ 

       1. การปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ควร Shut down ทุกครั้ง
       2. 
การใช้ Drive 1.44 ( Drive A: หรือ แผ่นดิสก์เกต ) ควรตรวจสอบสภาพแผนก่อนใช้ทุกครั้ง ตรวจสอบสติกเกอร์ที่ติดบนแผนต้องแนบสนิทกับแผ่นดิสก์ ถ้าสติกเกอร์ติดไม่แน่น เมื่อนำแผ่นดิสก์ออกจะทำให้บางส่วนของสติกเกอร์ติดค้างภายใน Drive 1.44 (เครื่องอ่านแผ่นดิสก์) จะทำให้หัวอ่านแผ่นชำรุดหรือเสียหายได้
       3. 
ควรปัดฝุ่นหรือทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ใหม่อยู่เสมอ เพราะเมื่อมีฝุ่นเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์มากๆ จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ร้อนจัดได้ง่าย เป็นสาเหตุของอาการเครื่องค้างหรือเครื่องHangได้
       4. 
ภายในโปรแกรม Windows จะมีคำสั่งในการบำรุงรักษาเครื่อง ( Maintenance ) ซึ่งผู้ใช้ควรใช้คำสั่งนี้บ่อยๆ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง หรืออาทิตย์ละ 1 ครั้งสำหรับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ 
คำสั่ง Disk Cleanup ,Scandisk และ Defrag ( วิธีใช้งานคำสั่งจะแนะนำต่อไป )
       5. 
ไม่ควรรับประทานอาหารขณะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะเศษอาหารจะทำให้หนูหรือแมลงต่างๆ เข้าสู่ภายในเครื่องและกัดแทะสายไฟทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เสียหายได้
***การบำรุงรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย ทำความสะอาดเครื่องทั้งภายนอกและภายใน ตรวจและทำความสะอาดFloppy Disk Drive และ CD ROM ตรวจสอบและกำจัด Virus อุปกรณ์ใดที่ต้องหล่อลื่นให้หล่อลื่นด้วย

.................................................................... 

การแก้ปัญหาด้วยโปรแกรมยูทิลิตี้

โปรแกรมยูทิลิตี้เพื่อแก้ปัญหาในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
1.ความหมายโปรแกรมยูทิลิตี้
โปรแกรม หมายถึงโปรแกรมที่ช่วยจัดการระบบทางด้านต่าง ๆ รวมไปถึงดูแลรักษาและซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์  และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งในระบบปฏิบัติการวินโดว์ส 98  ได้มีการพัฒนาเครื่องมือต่าง ๆเพิ่มขึ้นเพื่อใช้สำหรับดูแลรักษาระบบและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเครื่องคอมพิวเตอร์  อีกทั้งทำการซ่อมแซมบำรุงรักษาให้คอมพิวเตอร์  ตลอดจนถึงข้อแนะนำและแนวทางแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบปฏิบัติการวินโดว์ส  โดยเครื่องมือเหล่านี้ถูกต้องอยู่ในกลุ่มของคำสั่ง  System  Tools  ใน Accessory

2.หน้าที่โปรแกรมยูทิลิตี้
เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกต่าวๆให้กับผู้ใช้อาจเรียกว่าโปรแกรมอรรถประโยชน์ทำหน้าที่ เช่น การทำความสะอาด Hard disk การจัดเรียงข้อมูลใน Hard diskเป็นต้น

3.ตัวอย่างโปรแกรมยูทิลิตี้
ชนิดของโปรแกรมยูติลิตี้มีหน้าที่ต่างๆ กัน และมีผลิตภัณฑ์ยี่ห้อรุ่นต่างกันมากมาย ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงตัวอย่างหน้าที่และผลิตภัณฑ์ตัวอย่างของโปรแกรมยูติลิตี้ที่มีใช้กันอยู่มากและเป็นประโยชน์ต่อการใช้งานฟอร์แมตเตอร์ - Formatterโปรแกรมฟอร์แมตเตอร์เป็นโปรแกรมสำหรับการเตรียมรูปแบบการบันทึกข้อมูลบนดิสก์ เนื่องจากดิสก์เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่ใช้ได้กับคอมพิวเตอร์หลากหลายรุ่นและระบบปฏิบัติการไม่เฉพาะเจาะจง ก่อนที่จะใช้ดิสก์เป็นข้อมูลสำหรับระบบปฏิบัติการแบบใดจำเป็นต้องจัดรูปแบบการการจัดเก็บข้อมูลไฟล์และโครงสร้างที่เกี่ยวกับการจัดเก็บไฟล์และแบ่งไดเร็กทอรี่หรือโฟลเดอร์ตามรูปแบบที่ระบบปฏิบัติการนั้นกำหนด การจัดรูปแบบที่เรียกว่าดิสก์ฟอร์แม็ต จะต้องทำกับทั้งฮาร์ดิสก์และฟล๊อปปี้ดิสก์ก่อนที่จะใช้ดิสก์นั้นเก็บข้อมูลครั้งแรก ซึ่งระบบปฏิบัติการทุกระบบจะเตรียมโปรแกรมยูติลิตี้เพื่อให้ผู้ใช้สามารถจัดฟอร์แม็ตดิสก์ใหม่ เช่น ในเอ็มเอสดอส ใช้คำสั่ง FORMAT.COM ในวินโดว์ก็มีคำสั่ง Format… ในกลุ่มเมนู File เมื่อเราเลือกไอคอนแสดงดิสก์
ในระบบคอมพิวเตอร์ใหญ่คำสั่งในการจัดฟอร์แม็ตจะไม่อนุญาตให้ผู้ใช้งานได้ใช้คำสั่งเช่นนี้กับฮาร์ดดิสก์ของระบบ ผู้ที่สามารถใช้คำสั่งนี้ได้จะเป็นผู้ดูแลระบบเท่านั้นและอาจจะต้องเข้าสู่โหมดในการจัดการระบบก่อนที่จะทำการฟอร์แม็ตได้ เนื่องจากการฟอร์แม็ตดิสก์ใหม่จะทำให้โปรแกรม และข้อมูลที่ถูกติดตั้งและบันทึกอยู่ถูกลบล้างหายไปทั้งหมด จึงเป็นคำสั่งที่จะต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง แม้แต่ในเครื่องพีซีที่ใช้งานส่วนบุคคลก็จะต้องระวังไม่ให้ใช้คำสั่งนี้ผิดพลาด เช่นเลือกฟอร์แม็ตดิสก์ผิดตัว เป็นต้น

โปรแกรมช่วยค้นหาไฟล์ข้อมูล – Find File
การเก็บข้อมูลไฟล์ในระบบที่มีหน่วยบันทึกข้อมูลความจุสูงที่ใช้กันทุกวันนี้มีความสามารถเก็บข้อมูลได้นับหมื่นไฟล์ การเก็บข้อมูลมีการแบ่งโครงสร้างเป็นโฟลเดอร์ที่สามารถแตกออกไปได้หลายชั้น ด้วยจำนวนไฟล์ที่มีมาก และสามารถจัดแบ่งโฟลด์เอดอร์ที่เก็บข้อมูลย่อยๆ บางครั้งเป็นการยากที่เราจะค้นหาไฟล์ข้อมูลที่ต้องการนำมาใช้งานว่ามีอยู่หรือไม่และจัดเก็บไว้ในตำแหน่งใด
โปรแกรมค้นหาไฟล์ข้อมูลเป็นยูติลิตี้ที่จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาได้ว่ามีไฟล์ที่ต้องการเก็บอยู่หรือไม่และหากมีไฟล์นั้นอยู่มี่ตำแหน่งใด โดยระบุเงื่อนไขของไฟล์ที่ต้องการได้หลายเงื่อนไข เช่นกำหนดชื่อไฟล์หรือระบุเฉพาะบางส่วนของชื่อไฟล์ ชนิดของข้อมูลที่บรรจุอยู่ในไฟล์ ช่วงวันที่ที่เปลี่ยนแปลงข้อมูลล่าสุด หรือระบุข้อมูลหรือข้อความที่อยู่ในไฟล์นั้น
ตัวอย่างเช่น คำสั่ง FINDFILE ในโนเวลล์เน็ตแวร์ คำสั่ง Find Files or Folders … ของวินโดว์ 98 เป็นต้น








โปรแกรมช่วยลดขนาดไฟล์ในการจัดเก็บบันทึกให้เล็กลง - File Compression
การจัดเก็บไฟล์ข้อมูลที่จะฝากเก็บไว้โดยยังไม่ได้ใช้งานสามารถบีบขนาดไฟล์ให้เล็กลงได้โดยใช้กระบวนการบีบอัดข้อมูลที่เรียกว่าดาต้าคอมเพรสชั่น (data compression) ซึ่งขนาดอาจลดลงได้มากถึง 90% คือใช้พื้นที่เก็บข้อมูลเพียง 10% ของขนาดข้อมูลจริง แล้วแต่ว่าข้อมูลนั้นมีความซ้ำกันเพียงใดหากซ้ำกันมากก็สามารถลดขนาดได้มาก ข้อมูลที่ถูกลดขนาดลงไม่สามารถนำมาใช้งานได้ทันที หากต้องการนำกลับมาใช้งานจะต้องขยายขนาดข้อมูลกลับมาเท่าเดิมโดยใช้โปรแกรมขยายขนาดกลับมาเรียกว่าดีคอมเพรสชั่น (decompression) ซึ่งโปรแกรมยูติลิตี้ที่ช่วยในการลดขนาดข้อมูล จะมีคำสั่งสำหรับขยายขนาดข้อมูลกลับมาเป็นข้อมูลเท่าเดิมด้วย นอกจากนี้ยังสามารถบีบอัดและรวมข้อมูลหรือโปรแกรมจากหลายๆ ไฟล์เข้ามารวมไว้ในไฟล์เดียวกันเพื่อทำให้สะดวกในการคัดลอกหรือโอนถ่ายข้อมูลและโปรแกรมระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างโปรแกรมยูติลิตี้สำหรับบีบอัดและขยายข้อมูลที่ถูกใช้งานกันมาก ได้แก่ PKZIP.EXE และ PKUNZIP.EXE เป็นโปรแกรมบีบอัดและขยายที่ทำงานบนเอ็มเอสดอส โปรแกรม WinZip ทำงานบนวินโดว์ โปรแกรม WinRAR เป็นต้น

โปรแกรมช่วยคืนไฟล์ที่ถูกลบไปแล้ว – File Undelete
ไฟล์ข้อมูลที่ถูกลบออกแล้วหากยังไม่มีการบันทึกข้อมูลใหม่ทับลงไปยังสามารถเรียกไฟล์เหล่านั้นกลับคืนมาได้ ซึ่งระบบปฏิบัติการในยุคปัจจุบันจะไม่บันทึกข้อมูลใหม่ทับตำแหน่งข้อมูลที่ถูกลบเว้นแต่จะไม่มีพื้นที่บันทึกข้อมูลว่างแล้ว หรือในระบบปฏิบัติการอาจมีวิธีนำข้อมูลที่ถูกลบไปเก็บไว้ในตำแหน่งที่เตรียมไว้ก่อน ซึ่งการเรียกข้อมูลที่ถูกลบทิ้งจะมีคำสั่งหรือโปรแกรมยูติลิตี้ช่วยดำเนินการ แต่ในระบบปฏิบัติการเช่นวินโดว์ 95/98 ได้รวมคำสั่งคืนไฟล์นี้เข้าเป็นคำสั่งของระบบปฏิบัติการ
ตัวอย่างโปรแกรมสำหรับคืนไฟล์ที่ถูกลบ เช่น คำสั่ง UNDELETE.COM ในเอ็มเอสดอส คำสั่ง SALVAGE ในโนเวลล์เน็ตแวร์ หรือการใช้คำสั่ง Restore ใน Recycle Bin (ถังขยะเก็บไฟล์ที่ลบแล้วของวินโดว์)

โปรแกรมช่วยทำข้อมูลสำรอง และนำคืนข้อมูลสำรอง - Backup and Recovery
โปรแกรมยูติลิตี้ประเภทนี้จะทำการคัดลอกไฟล์ข้อมูลเก็บลงในสื่อ เช่นฟลอปปี้ดิสก์หรือเทป เพื่อใช้เป็นสื่อข้อมูลสำรองที่สามารถนำข้อมูลกลับคืนมาติดตั้งใหม่หากข้อมูลในหน่วยบันทึกข้อมูลเกิดเสียหายหรือสูญหายไป โปรแกรมสำรองข้อมูลบางโปรแกรมจะบันทึกข้อมูลสำรองแยกเป็นไฟล์ แต่บางโปรแกรมจะรวมข้อมูลที่สำคัญของดิสก์และระบบปฏิบัติการเป็นร่วมกันโดยไม่ได้คำนึงว่าไฟล์ใดบ้างและเก็บร่วมเป็นไฟล์เดียวกัน เรียกว่าดิสก์อิมเมจ (Disk Image) หากหน่วยบันทึกข้อมูลเสียไปก็สามารถถ่ายข้อมูลดิสก์อิมเมจที่สำรองไว้กลับลงมาได้เหมือนสภาพเดิมทันที
ตัวอย่างเช่น โปรแกรม Backup ของเอ็มเอสดอส และวินโดว์ 95 หรือ 98 โปรแกรม Norton Backup และ Colorado Backup เป็นต้น


โปรแกรมช่วยซ่อมไฟล์ข้อมูลหรือพื้นที่ในการเก็บข้อมูลในดิสก์ - File and disk repair
เมื่อเกิดปัญหาข้อมูลที่ถูกบันทึกในดิสก์เสียหาย หรือระบบการจัดเก็บไฟล์มีบางส่วนเกิดเสียหาย ทำงานไม่ปกติ โปรแกรมยูติลิตี้ด้านการตรวจสอบแก้ไขระบบไฟล์อาจถูกนำมาใช้เพื่อตรวจสอบและแก้ไขปัญหาด้านนี้ ซึ่งการทำงานของโปรแกรมประเภทนี้คือจะอ่านแต่ละส่วนของระบบการจัดเก็บไฟล์ที่เรียกว่าไฟล์ซิสเต็ม (File System) เช่น ส่วนจัดเก็บชื่อไฟล์ ส่วนเชื่อมโยงไปยังเนื้อไฟล์ โครงสร้างการแบ่งไดเร็กทอรี่ และการจัดเก็บเนื้อที่ว่างบนดิสก์ หากพบว่ามีส่วนใดผิดปกติไม่ถูกต้อง จะแสดงรายการข้อผิดพลาดและถามให้ผู้ใช้เลือกว่าจะแก้ไขหรือไม่
ตัวอย่างเช่น scandisk ที่ทำงานบนเอ็มเอสดอส , norton disk doctor ในวินโดว์ 95 / 98 เป็นต้น






โปรแกรมตรวจสอบและกำจัดไวรัส – Anti Virus
ไวรัส (Virus) คือคำสั่งโปรแกรมประเภทหนึ่งที่ฝังตัวอยู่ในโปรแกรมประยุกต์หรือโปรแกรมระบบและจะทำการถ่ายทอดตัวเองไปยังโปรแกรมอื่นๆ และแพร่ตัวเองไปบนระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย แล้วทำให้เกิดความเสียหายแก่ไฟล์หรือดิสก์ของระบบนั้นๆ โดยการทำลายโปรแกรมและข้อมูล หรือไวรัสบางตัวอาจทำลายดิสก์ทั้งหมด ไวรัสจะแพร่หลายโดยการใช้โปรแกรมในดิสก์ร่วมกันหรือการใช้โปรแกรมที่โหลดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือจากอินเตอร์เน็ต
โปรแกรมตรวจจับไวรัส (Anti-virus Software) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบสื่อบันทึกข้อมูลทั้งฮาร์ดดิสก์ฟลอปปี้ดิสก์และหน่วยความจำเพื่อตรวจหาโปรแกรมไวรัส โดยโปรแกรมจะแจ้งให้ผู้ใช้ทราบหากตรวจพบพฤติกรรมของไวรัสและบางโปรแกรมจะทำลายไวรัสให้ทันที ตัวอย่างโปรแกรมตรวจสอบและกำจัดไวรัสได้แก่ McAfee Virus Scan, Norton AntiVirus, VirusScan for Windows95 เป็นต้น

โปรแกรมตรวจเช็คสภาพเครื่องทั้งฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการ – System Diagnostic
โปรแกรมยูติลิตี้ที่ช่วยตรวจสอบการทำงานของฮาร์ดแวร์ ซึ่งรวมถึง ซีพียู, หน่วยความจำ, ระบบแสดงผล, อุปกรณ์มัลติมีเดีย ว่ามีการทำงานเป็นปกติหรือไม่ ตรวจสอบความสมบูรณ์ของระบบปฏิบัติการว่ายังมีส่วนประกอบครบถ้วนและข้อมูลของระบบปฏิบัติการเองไม่เสียหายไปเนื่องจากระบบปฏิบัติการที่มีความซับซ้อน มีจำนวนไฟล์โปรแกรมและไฟล์ข้อมูลที่ใช้งานประกอบกันเป็นจำนวนมากบางครั้งอาจเกิดความเสียหายเนื่องจากการลบไฟล์ผิด การติดตั้งโปรแกรมใช้งานไม่สมบูรณ์หรือผิดรุ่น ก็อาจมีผลให้ระบบปฏิบัติการทำงานได้ไม่ถูกต้อง
โปรแกรมตรวจเช็คสภาพเครื่องจึงมีประโยชน์ ใช้งานได้ทั้งในสภาวะปกติที่เราจะตรวจสอบก่อนที่จะเกิดปัญหาและเมื่อเกิดปัญหาขึ้น เช่น เมื่อโปรแกรมทำงานไม่ได้ตามปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจมีส่วนของโปรแกรมที่ใช้ช่วยเหลือโปรแกรมต่างๆ ไม่ให้โปรแกรมหยุดทำงานเนื่องจากติดขัดด้วยสาเหตุบางอย่าง
ตัวอย่างโปรแกรมตรวจสอบระบบ คือ WinCheckIT , และโปรแกรมที่อยู่ในชุดของ Norton Utilities เช่น CrashGuard 2.0 , Win Doctor, System Doctor เป็นต้น
โปรแกรมตรวจสอบประสิทธิภาพการใช้งานทรัพยากร - Resource utilization performance meter
ยูติลิตี้นี้มีไว้ตรวจสอบว่ามีการใช้งานทรัพยากรของระบบมากเพียงใด โดยจะแสดงในรูปของตัวเลขเป็นเปอร์เซนต์ เช่น การใช้ซีพียู 75% หมายความว่าซีพียูถูกใช้งานประมาณ 75% และหยุดรอโดยไม่ทำงาน 25% หรือการใช้หน่วยความจำ 30% หมายความว่ายังมีเนื้อที่ว่างในหน่วยความจำเหลืออยู่อีก 70% เป็นต้น หรือแสดงในรูปกราฟที่ทำให้เราเห็นปริมาณการใช้งานที่ผ่านมาในระยะเวลาต่างๆ และยังอาจเก็บชุดตัวเลขเหล่านี้บันทึกลงในไฟล์เรียกว่าล๊อกไฟล์ (log file) เพื่อนำมาวิเคราะห์ในภายหลังได้ด้วย
การตรวจสอบประสิทธิภาพจะมีประโยชน์มากกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นแม่ข่ายให้บริการแก่คอมพิวเตอร์อื่นๆ เพื่อจะดูว่าได้ใช้ความสามารถของแม่ข่ายนั้นในระดับใดหากใช้เกินกว่าปริมาณที่สมควร อาจจะต้องปรับเปลี่ยนเครื่องใหม่ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่นหากใช้หน่วยความจำสูงมากอาจเพิ่มหน่วยความจำหรือหากใช้ซีพียูสูงตลอดเวลาก็อาจเปลี่ยนไปใช้ซีพียูที่เร็วขึ้นหรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีหลายซีพียู และอาจจะมีส่วนที่ทำหน้าที่วัดและแสดงปริมาณการใช้ทรัพยากรของระบบรวมถึงการแสดงผลของทรัพยากรที่เหลืออยู่ตัวอย่างเช่น Resource Meter, System monitor ในกลุ่มคำสั่ง Accessory ของวินโดว์ Norton System Doctor เป็นต้น











โปรแกรมช่วยจัดระเบียบข้อมูลในดิสก์ - Disk defragmentation
หากเป็นฮาร์ดดิสก์ที่เริ่มใช้งานใหม่หลังจากถูกฟอร์แมต ระบบปฏิบัติการจะจัดเก็บข้อมูลของไฟล์ไว้อย่างต่อเนื่องบนเนื้อดิสก์ แต่หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่อยู่ในไฟล์ เช่นมีการลบไฟล์ เพิ่มข้อมูล ฯลฯ ข้อมูลใหม่ของไฟล์จะถูกกระจายไปยังเนื้อที่ว่างที่ยังไม่ได้ถูกใช้งาน ทำให้ข้อมูลในไฟล์ไม่ต่อเนื่องกัน การที่เนื้อหาของไฟล์เดียวกันถูกจัดเก็บกระโดข้ามตำแหน่งกันไม่อยู่ต่อเนื่องทำให้ประสิทธิภาพในการอ่านข้อมูลไฟล์นั้นลดลงเนื่องจากต้องใช้เวลาในการเลื่อนหัวอ่านข้อมูลของดิสก์ข้ามไปมาในระหว่างอ่านชุดของข้อมูล
การจัดเก็บไฟล์ที่กระโดดข้ามไปมานั้นเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการทำงานตามปกติซึ่งเรียกว่า ไฟล์ที่แบ่งแยกออกเป็นชิ้นเล็กน้อย (fragmented file) คือไฟล์ที่ส่วนต่างๆ ของไฟล์กระจัดกระจายไม่ต่อเนื่องกันอยู่บนดิสก์ ซึ่งทำให้การเข้าถึงข้อมูลในไฟล์ต้องใช้เวลามากขึ้น
โปรแกรมรวมรวมจัดระเบียบการจัดเก็บไฟล์ใหม่ (file defragmentation utility) เป็นโปรแกรมยูติลิตี้ที่ทำการจัดตำแหน่งเนื้อที่ในแต่ละไฟล์ให้มาอยู่ต่อเนื่องกัน เพื่อจะเพิ่มความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลในดิสก์ และบางโปรแกรมยังทำการจัดตำแหน่งไฟล์ให้อยู่ในตำแหน่งในดิสก์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยดูจากโอกาศในการถูกใช้งานมากน้อยเพียงใด หากเป็นกลุ่มไฟล์ที่จะถูกเรียกใช้งานบ่อยก็อาจนำมาวางเรียงกันในตำแหน่งใกล้กัน เพื่อไม่ให้หัวอ่านดิสก์ต้องเลื่อนตำแหน่งไปไกลมาก เป็นต้น
ตัวอย่างเช่น โปรแกรมในชุดโปรแกรม Norton Utility ได้แก่ SpeedDisk, Optimization Wizard คำสั่ง Disk Defragmenter ในกลุ่มคำสั่ง Accessory ของวินโดว์ เป็นต้น








โปรแกรมกำจัดข้อมูลที่ซ้ำซ้อนหรือไม่ได้ใชังานในระบบ - Disk cleanup
การสร้างประสิทธิภาพของการใช้ระบบประการหนึ่งคือการกำจัดข้อมูลที่ไม่ถูกใช้งาน ซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่สร้างขึ้นชั่วคราวระหว่างการใช้โปรแกรมแล้วไม่ได้ถูกลบทิ้งเมื่อเลิกใช้ หรือข้อมูลที่มีอยู่ซ้ำซ้อนกันแต่เก็บในต่างตำแหน่งกัน ไฟล์ข้อมูลของระบบปฏิบัติการที่อาจไม่ได้ใช้แล้ว ซึ่งเมื่อมีข้อมูลที่ไร้ประโยชน์เก็บอยู่นอกจากจะทำให้เปลืองเนื้อที่บันทึกในดิสก์โดยเปล่าประโยชน์แล้วยังอาจกระทบต่อการสร้างประสิทธิภาพอื่นๆ เช่น การกระจายของข้อมูลที่เก็บในดิสก์ (fragmented file) การเลื่อนของหัวอ่านดิสก์ที่จะต้องเลื่อนไปในแทรกต่างๆ หากมีการเก็บข้อมูลมากจำนวนแทรกที่มีข้อมูลก็จะมากทำให้หัวอ่านมีโอกาสที่จะต้องเลื่อนไปมาไกลขึ้น
โปรแกรมกวาดล้างข้อมูลส่วนเกิน (disk cleanup utility) จะตรวจสอบข้อมูลไฟล์ประเภทต่างและให้ผู้ใช้ได้เลือกว่าต้องการลบข้อมูลกลุ่มใดออกจากระบบ หรือให้เลือกแยกเป็นไฟล์ไปว่าไฟล์ใดต้องการลบออกบ้าง โดยจะแสดงชื่อไฟล์ที่น่าจะไม่ได้ถูกใช้งานออกมาให้เลือกตัวอย่างโปรแกรมประเภทนี้ เช่น Disk Cleanup ในกลุ่ม Accessory ของวินโดว์ โปรแกรม CleanSweep เป็นต้น

โปรแกรมกำหนดเวลาทำงานอัตโนมัติให้แก่คอมพิวเตอร์ - task scheduler
ในการใช้งานคอมพิวเตอร์บางงานเราสามารถตั้งเวลาเริ่มต้นให้โปรแกรมทำงานได้โดยใช้โปรแกรมกำหนดเวลาทำงานซึ่งมักจะมีวิธีกำหนดได้หลายแบบ เช่นจะให้ทำงานทุกวันตามเวลา หรือทุกสัปดาห์ทุกเดือน ตามวันที่กำหนด (เช่น กำหนดทุกวันศุกร์ หรือทุกวันที่ 15 ของเดือน เป็นต้น) และอาจกำหนดเวลาให้หยุดทำงานได้ ตัวอย่างการใช้ประโยชน์ เช่น เรียกใช้โปรแกรมตรวจสอบระบบ หรือสำรองข้อมูล โดยอัตโนมัติ เป็นต้นตัวอย่างเช่น task scheduler ในกลุ่ม Accessory ของวินโดว์ 95 / 98






โปรแกรมช่วยสร้างขั้นตอนอัตโนมัติ (script file)
การสั่งให้โปรแกรมหรือคำสั่งทำงานตามลำดับโดยเราตั้งขั้นตอนการเรียกใช้โปรแกรมต่างๆ เอาไว้ก่อนเมื่อต้องการให้เกิดการทำงานตามลำดับขั้นตอนก็จะเรียกเพียงคำสั่งเดียว ขั้นตอนที่ตั้งไว้ก็จะเริ่มทำงานตามลำดับได้โดยอัตโนมัติ
ตัวอย่างเช่น การใช้ไฟล์ชนิดแบทช์ (batch file) ในเอ็มเอสดอส สามารถกำหนดขั้นตอนการสั่งให้คำสั่งหรือโปรแกรมทำงานตามลำดับ ในวินโดว์ก็มีโปรแกรม WinBatch หรือในระบบยูนิกซ์ก็สามารถกำหนดไฟล์สคริปต์ได้เช่นเดียวกันกับไฟล์แบทช์ของเอ็มเอสดอส

โปรแกรมเลียนแบบเทอร์มินอล (terminal emulator)
เครื่องพีซีเป็นคอมพิวเตอร์ที่นับว่ามีราคาต่ำและมีความสามารถสูงถูกนำไปใช้งานเพื่อเป็นเทอร์มินอลของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่แทนจอเทอร์มินอลที่ใช้เฉพาะ โดยการใช้โปรแกรมเลียนแบบจอเทอร์มินอล เพื่อทำให้พีซีรวมทั้งระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ยูนิกซ์สามารถต่อเชื่อมเข้ากับโฮสคอมพิวเตอร์โดยผ่านช่องทางอนุกรมตามมาตรฐานอาร์เอส 232 หรือระยะไกลผ่านโมเด็มและสายโทรศัพท์หรือผ่านระบบเครือข่าย ซึ่งการใช้พีซีเป็นเทอร์มินอลจะมีความสามารถในการทำงานเป็นเทอร์มินอลได้สูงกว่าจอเทอร์มินอลที่ใช้เฉพาะ และยังมีราคาที่ถูกกว่าจอเทอร์มินอลตัวจริงเช่นกราฟฟิกเทอร์มินอลด้วย เนื่องจากมีปริมาณผลิตมากกว่า
ตัวอย่างโปรแกรมเลี่ยนแบบเทอร์มินอล เช่น Smart Terminal ในวินโดว์ โปรแกรม Telnet ที่มีใช้ทั้งในระบบพีซีและยูนิกซ์








 การแก้ปัญหาด้วยโปรแกรมยูทิลิตี้


โปรแกรมเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ (computer to computer connection)
โปรแกรมที่ช่วยสร้างการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่ต่อเชื่อมกันระหว่างเครื่องต่อเครื่อง อาจต่อเชื่อมกันผ่านอุปกรณ์โมเด็มและสายโทรศัพท์ หรือต่อกันโดยพอร์ตและสายสัญญาณ ซึ่งอาจเป็นพอร์ตอนุกรมอาร์เอส 232 หรือพอร์ตขนานซึ่งปกติใช้กับเครื่องพิมพ์ เพื่อประโยชน์ในการถ่ายทอดข้อมูล ระหว่างคอมพิวเตอร์สองเครื่อง หรืออาจใช้คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งควบคุมเครื่องอื่นๆ ในการทำงานจากระยะไกล เป็นต้น
ตัวอย่างเช่น Direct Cable Connection ในวินโดว์ โปรแกรม PCAnyWhere หรือโปรแกรม Kermit ในระบบยูนิกซ์ เป็นต้น

โปรแกรมถนอมจอภาพ (Screen saver)
สกรีนเซฟเวอร์เป็นยูติลิตี้ช่วยป้องกันความเสียหายของจอภาพจากการแสดงภาพที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยเป็นเวลานาน เมื่อผู้ใช้ไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์แต่เปิดเครื่องเอาไว้จอภาพจะแสดงภาพอยู่นิ่งๆ ซึ่งการแสดงภาพเดียวนานๆ จะทำให้เกิดการเสื่อมของสารฟอสฟอรัสที่เคลือบจอนั้น โปรแกรมสกรีนเซฟเวอร์จะเริ่มทำงานตามอัตโนมัติถ้าภาพที่อยู่บนจอภาพไม่มีการเปลี่ยนแปลงภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งผู้ใช้สามารถที่จะกำหนดได้ โดยจะแสดงภาพต่างๆ บนหน้าจอที่มีการเปลี่ยนแปลงของภาพแทนการแสดงผลเดิม เพื่อให้มีการยิงลำแสงไปที่ทุกจุดบนจอภาพอย่างทั่วถึง ช่วยลดการมัวของจอภาพโดยลดความสว่างของจอภาพลงหรือแสดงภาพเคลื่อนไหวบนจอภาพ
ตัวอย่างสกรีนเซฟเวอร์ที่หน้าสนใจได้แก่ After Dark, Corel Reel, Looney Toon, Disney Screen saver เป็นต้น


ไดรเวอร์



ไดรเวอร์


คำว่า ไดรเวอร์ สำหรับคุณผู้อ่านหลายท่านที่อยู่ในแวดวงไอที หรือมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์พอสมควร คงจะรู้จักกันดีอยู่แล้ว แต่สำหรับหลายๆ ท่านที่อาจจะยังไม่ทราบ วันนี้เรามีความหมายของคำว่า ไดรเวอร์มาฝากกันครับ 



ไดรเวอร์ (Driver) เป็นซอฟต์แวร์ หรือ โปรแกรมประเภทหนึ่งซึ่งใช้ในการเป็นตัวกลางประสานเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) กับ ระบบปฏิบัติการ (OS) เพื่อให้ระบบปฏิบัติการสามารถใช้งานอุปกรณ์เหล่านั้นได้ เปรียบได้ดังเช่นความหมายโดยตรงของคำนี้ ซึ่งก็คือ คนขับรถ หากไม่มีไดรเวอร์ หรือ คนขับรถ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เหล่านั้นก็ไม่สามารถใช้งานได้ หรืออาจใช้ได้แต่ไม่ดีเท่าที่ควร เหมือนกับรถที่ไม่สามารถแล่นไปได้ด้วยดีนั่นเอง 

ทุกครั้งที่เราเพิ่มอุปกรณ์เข้าไปใหม่ เช่น หากต้องการจะติดตั้งการ์ดจอชื่อดังยี่ห้อหนึ่งที่เพิ่งซื้อมาใหม่ คอมพิวเตอร์จะไม่สามารถรู้ได้ว่าอุปกรณ์ตัวนั้นชื่ออะไร ทำอะไรได้บ้าง และต้องสั่งงานมันอย่างไร เราจะต้องลงโปรแกรมเพื่อบอกให้คอมพิวเตอร์ทราบถึงรายละเอียดของอุปกรณ์ รวมทั้งวิธีใช้งานอุปกรณ์เหล่านั้นด้วย ซึ่งโปรแกรมนั้นก็คือ ไดรเวอร์ นั่นเอง

หากเป็นระบบปฏิบัติการรุ่นเก่าๆ เช่น Windows 98, Windows 2000 เราแทบจะต้องลงไดรเวอร์ให้กับอุปกรณ์แทบทุกตัว แต่ใน Windows XP จะเริ่มมีระบบ Plug and Play ซึ่งก็คือ อุปกรณ์บางตัวที่สนับสนุนสามารถเชื่อมต่อแล้วใช้ได้เลย ไม่ต้องลงไดรเวอร์ ทั้งนี้ เพราะตัวระบบปฏิบัติการเองจะมีไดรเวอร์ที่รองรับไว้อยู่แล้ว สำหรับอุปกรณ์บางอย่าง แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด จนกระทั่งถึงยุคของ Windows 7 จะมีไดรเวอร์พื้นฐานของ Hardware รุ่นดังๆ เก็บไว้เป็นจำนวนมาก อุปกรณ์ส่วนใหญ่แทบไม่ต้องลงไดรเวอร์เพิ่มเติมก็สามารถใช้งานได้

การติดตั้งระบบปฎิบัติการ Windows และโปรแกรมประยุกต์

หลังจากที่จัดเตรียมฮาร์ดดิสก์ในการติดตั้งเครื่องใหม่ หรือฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์เดิมที่ระบบเกิดความเสียหายแล้ว  ต่อไปเป็นขั้นตอนการติดตั้งระบบปฏิบัติการ
ลงบนเครื่อง   ระบบปฏิบัติการจะเป็นเหมือนส่วน   ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ทั้งหมดภายในเครื่อง   เป็นตัวกลางระหว่างโปรแกรมใช้งานต่าง ๆ กับ
อุปกรณ์บนเครื่อง โดยในบทนี้จะกล่าวถึงการติดตั้งของระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟท์ที่ได้รับความนิยมอย่าง Windows XP และ Windows Vista
 1. ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows XP
          Windows XP เป็นระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟท์ ถูก
ออกแบบให้มีสีสัน   อินเทอร์เฟสที่ดูสดใส  ซึ่งมีอยู่ 3 รุ่นด้วยกัน
คือ    Windows  XP  Home  Edition    สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป
Windows  XP  Professional     สำหรับการใช้งานในระดับสูง
และงานด้านเครือข่าย และ Windows XP Tablet PC Edition
ที่ทำงานอยู่บนเครื่อง Tablet PC       
            Windows XP ได้พัฒนาระบบการติดตั้งที่ง่ายขึ้น มาพร้อมตัวช่วยต่างๆ ที่ทำให้การติตดั้งทำได้สะดวกกว่ารุ่นก่อน ๆ มาก เช่น มีตัวเลือกให้เราฟอร์แมตพาร์
ทิชั่นบนฮาร์ดดิสก์ก่อนติดตั้ง รวมทั้งสามารถเลือกระบบจัดเก็บไฟล์ที่ใช้กับพาร์ทิชั่นที่จะติดตั้ง Windows XP ได้อีกด้วย (สามารถเลือกได้ทั้งระบบ FAT32 หรือ
NTFS ที่ใช้กับ Windows 2000/NT ได้)






1.1 ความต้องการของระบบสำหรับติดตั้ง Windows XP
          สำหรับการทำงานขั้นพื้นฐาน คอมพิวเตอร์ที่ใช้ติตตั้ง Windows XP จะต้องมีคุณสมบัติอย่างน้อย ดังนี้

                ส่วนประกอบ                        รายละเอียดขั้นต่ำ
                ซีพียู                       ความเร็ว 300MHz ขึ้นไป (แต่หากต้องการประสิทธิภาพในการทำงาน
ที่สูงขึ้นควรใช้ความเร็ว 600 MHz ขึ้นไป)
                                                 
                หน่วยความจำ                      ขนาด 128 MB ขึ้นไป
                                                 
                ฮาร์ดดิสก์                              พื้นที่ว่าง 1.5 GB ขึ้นไป
                                                 
                จอแสดงผล                           VGA หรือ Super VGA ความละเอียด 800 X 600 หรือสูงกว่า
                                                 
                อุปกรณ์อื่น ๆ                        ไดรว์ CD-ROM/RW/DVD, ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์, การ์ดเครือข่าย และโม
เด็ม

1.2 ขั้นตอนการติดตั้ง Windows XP
          ในการติตตั้ง Windows XP  ลงบนเครื่องใหม่ที่ยังไม่มีการติดตั้งระบบปฏิบัติการลงไป หรือหลังเราฟอร์แมตเครื่องแล้ว สามารถทำได้โดยให้เครื่องบู๊ตจาก
แผ่นซีดีติตตั้ง Windows XP และเข้าสู่การติดตั้ง Windows ต่อไป ดังนี้

          1. ใส่แผ่นซีดีติดตั้ง Windows XP ในเครื่อง   จากนั้นเครื่องจะบู๊ตจากแผ่นติดตั้งนี้ ซึ่งจำเข้าสู่หน้าจอเมนู Windows XP Setup ให้กด <Enter> เพื่อเลือก
เริ่มต้นการติดตั้ง Windows XP



          2. จะเข้าสู่หน้าต่างข้อตกลงในการติดตั้ง (Windows XP Licensing Agreement) ให้กด <F8> เพื่อเลือกตกลง และเข้าสู่ขั้นตอนต่อ
 3. หน้าจอถัดมา    จะแสดงพาร์ทิชั่นพร้อมขนาดของพาร์ทิชั่นทั้งหมดที่มีอยู่บนเครื่องของเรา    ให้เลือกพาร์ทิชั่นที่ต้องการติดตั้ง    Windows XP  และกด
<Enter>
 4. จากพาร์ทิชั่นที่เลือก โปรแกรมติดตั้งจะให้เลือกจัดการกับพาร์ทิชั่น ดังนี้
 เลือก Format พาร์ทิชั่นและแปลงระบบจัดเก็บไฟล์เป็น NTFS (Format อย่างเร็ว)
เลือก Format พาร์ทิชั่นและแปลงระบบจัดเก็บไฟล์เป็น FAT32 (Format อย่างเร็ว)
เลือก Format พาร์ทิชั่นและแปลงระบบจัดเก็บไฟล์ให้เป็นแบบ NTFS
เลือก Format พาร์ทิชั่นและแปลงระบบจัดเก็บไฟล์ให้เป็นแบบ FAT32
เปลี่ยนแปลงรูปแบบการเก็บข้อมูลบนพาร์ทิชั่นเป็นแบบ NTFS
ให้ทำการคงระบบเดิมไว้ โดยไม่ต้องฟอร์แมตและเปลี่ยนแปลงระบบไฟล์
          ในที่นี้ทำการเลือกให้ฟอร์แมตพาร์ทิชั่นที่เลือก และเปลี่ยนแปลงระบบไฟล์เป็นแบบ NTFS จากนั้นให้กด <Enter> จากนั้นโปรแกรมติดตั้งจะคัดลอกไฟล์ที่
จำเป็นลงในเครื่อง และทำการรีสตาร์ทเครื่องเพื่อเข้าสู่การติดตั้ง Windows XP
  5. โปรแกรมติตดั้งจะสอบถามเราถึงสถานที่ (ประเทศ) และภาษาสำหรับติดตั้งลงใน Windows XP ในส่วนนี้ข้ามไปได้ โดยคลิกเมาส์ที่ปุ่ม
6. จากนั้นโปรแกรมติดตั้งจะให้เราใส่ชื่อผู้ใช้และหน่วยงาน และระบุ Product Key ของ Windows XP และคลิกเมาส์ที่ปุ่ม




          7. กำหนดวันและเวลาที่กรอบ Date & Time และกำหนดช่วงเวลาของภูมิภาคที่เราอยู่ กำหนด Time Zone จากนั้นคลิกเมาส์ที่ปุ่ม
    8. โปรแกรมจะให้เรากำหนดการติดตั้งการทำงานบนระบบเครือข่าย (Network Settings) โดยมีตัวเลือกดังต่อไปนี้
 ตัวเลือก                คำอธิบาย
                Typical settings :                              กำหนดให้มีการติดตั้งระบบเครือข่ายแบบปกติ โดยจะมีการติดตั้งการเชื่อม
ต่อให้กับเครื่องของเราเป็นเครื่องลูกข่าย ให้สามารถกำหนดไฟล์เพื่อใช้งาน
ร่วมกันในเครือข่าย พร้อมติตดั้งโปรโตคอล TPC/IP ให้โดยอัตโนมัติ
                                                 
                Custom settings :                            เลือกกำหนดส่วนการติดตั้งระบบเครือข่ายด้วยตนเอง เลือกการติดตั้งระบบ
เครือข่ายแบบ Typical settings แล้วคลิกเมาส์ที่ปุ่ม
            9. เมื่อทำการติดตั้งโปรแกรมเสร็จสมบูรณ์แล้ว      โปรแกรมติดตั้งจะรีสตาร์ท และเริ่มต้นระบบขึ้นใหม่       หน้าจอแรกที่ปรากฏขึ้นคือหน้าต่างยินดีต้อนรับสู่
Microsoft Windows ให้เราคลิกเมาส์ที่ปุ่ม  Next
10. จากนั้นเป็นการลงทะเบียนกับไมโครซอฟท์ และการกำหนดผู้ใช้ที่สามารถเข้าใช้  Windows XP  โดยกำหนดเป็น User Account เพื่อใช้ล็อกออนเข้า
สู่การใช้งาน Windows ในช่อง Your name, 2nd User, 3rd User, ... ตามลำดับ
  จากนั้นจะเข้าสู่หน้าจอล็อกออนเข้าใช้งาน   Windows   XP   เราสามารถคลิกเมาส์เลือกชื่อ   User Account   เพื่อเข้าสู่ Windows XP    ได้ทันที (User Account เหล่านี้ เราสามารถเพิ่มและปรับแต่งได้ในภายหลัง)

2. ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows Vista
          สำหรับ Windows Vista แต่ละรุ่นนั้น ต้องการสเป็คเครื่องที่แตกต่างกันไป ซึ่งสเป็คเครื่องดังกล่าวนี้ถือเป็นความต้องการขั้นต่ำ เพื่อใช้ Windows Vista ได้อย่างราบรื่น โดยสเป็คเครื่องจะเน้นไปที่ระบบแสดงผลของเครื่อง และพื้นที่ว่างที่มากถึง 15 GB ดังรายละเอียดต่อไปนี้

2.1 ความต้องการของระบบสำหรับติดตั้ง Windows Vista
          แบ่งสเป็คเครื่องติดตั้ง Windows Vista ออกเป็น 2 ระดับ คือ สเป็คเครื่องแบบ Capable PC และ Premium Ready PC ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

                สเป็คเครื่องแบบ                  หน้าที่การทำงาน
                Capable PC                        เป็นสเป็คเครื่องขั้นต่ำที่ขอให้รัน   Windows Vista   ได้ก็พอ   โดยสเป็คเครื่องระดับนี้สามารถใช้ติดตั้ง
Windows Vista   ได้   แต่ไม่รองรับส่วนการแสดงผล 3 มิติที่เรียกว่า Aero ปัจจุบันผู้ผลิตและจำหน่าย
เครื่องคอมพิวเตอร์   จะมีโลโก้ Windows Vista Capable    ที่แสดงว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนี้สามารถรัน
Windows Vista ได้
                                                 
                Premium PC                      เพื่อการใช้งาน   Windows Vista   ได้อย่างเต็มทุกความสามารถ   โดยเฉพาะการใช้การแสดงผลแบบ
Windows Aero   เช่น การดูภาพตัวอย่างของไฟล์แบบ Real-time การเลือกสลับการทำงานของหน้า
ต่างแบบ 3 มิติ การปรับขนาดแบบสเกล การแสดงผลของหน้าต่างแบบโปร่งใส เป็นต้น
                                                 

          สำหรับรายละเอียดสเป็คเครื่องระหว่าง Capable PC และ Premium Ready PC มีดังนี้

                                                Windows Vista Capable PC                         Windows Vista Premium PC
                หน่วยประมวลผล (ซีพียู)                     ความเร็ว 800 MHz ขึ้นไป                  ความเร็ว 1 GHz ขึ้นไป
(แบบ 32 บิต หรือแบบ 64 บิต)
                                                                                 
                หน่วยความจำ                      512 MB ขึ้้นไป                     1 GB ขึ้นไป
                                                                                 
                ระบบแสดงผล                      รองรับ DirectX9                
เพื่อการแสดงผล Windows Aero
ควรรองรับ

DirectX 9
WDDM Driver
Pixel Shader 2.0
32 บิต/พิกเซล
                                                                                 
                แรมบนการ์ดแสดงผล                          -                              128 MB
                                                                                 
                ฮาร์ดดิสก์                              40 GB
และมีพื้นที่ว่าง 15 GB                         40 GB
และมีพื้นที่ว่าง 15 GB
                                                                                 
                อื่น ๆ                      ไดรว์ดีวีดี/อินเทอร์เน็ต                         ไดรว์ดีวีดี/อินเทอร์เน็ต
                                                                                 

2.2 ขั้นตอนการติดตั้ง Windows Vista
          Windows Vista   มีขั้นตอนการติดตั้งที่ไม่ซับซ้อน   เพียงแต่อาจใช้เวลานานสักหน่อย ในตัวอย่างนี้เป็นการติดตั้งแบบลงใหม่หมด (Clean install) ลงบน
เครื่องที่ยังไม่มีการติดตั้งระบบปฏิบัิติการใด ๆ    ซึ่งตัว   Windows Vista   จะมีการฟอร์แมต  และจัดการระบบไฟล์ให้เราอัตโนมัติด้วย     เมื่อเราเตรียมแผ่นติดตั้ง
Windows Vista พร้อมแล้ว ให้บู๊ตเครื่องจากแผ่นนี้ ซึ่งระบบจะรันโปรแกรมติดตั้งขึ้นมาอัตโนมัติ



          1. โปรแกรมติดตั้ง Windows Vista จะถูกรันขึ้นมา ให้เรากำหนดภาษาที่ใช้สำหรับการติดตั้งดังนี้
                    Language to install : ระบุภาษาที่ใช้สำหรับหน้าต่างติดตั้งโปรแกรม
                    Time and currency format : ระบุมาตรฐานวัน/เวลาและสกุลเงินที่ใช้
                    Keyboard or input method : ระบุภาษาหลักที่ใช้บนคีย์บอร์ด
          จากนั้นคลิกเมาส์ที่ปุ่ม  เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนถัดไป



          2. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Install Now เพื่อเริ่มต้นเข้าสู่การติดตั้ง

          3. ระบุหมายเลขรหัสสินค้า   (Product Key)   ของ  Windows Vista  เพื่อสามารถติดตั้งต่อไปได้ (Windows Vista มีระบบ Activation สำหรับตรวจสอบ
ความเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ภายหลังจากติดตั้งและเริ่มใช้งานระบบด้วย) จากนั้นให้คลิกเมาส์ที่ปุ่ม  เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนถัดไป



          4. หน้าต่างถัดไปเป็นข้อตกลงในการใช้งานระบบปฏิบัติการ   Windows Vista   พร้อมทั้งบอกรายละเอียดเวอร์ชั่นของ Windows Vista   ให้ทราบ ให้เรา
เลือก I accept the license terms เพื่อยอมรับ และคลิกเมาส์ที่ปุ่ม



          5. เลือกรูปแบบการติดตั้ง Windows Vista ลงบนเครื่อง ว่าเป็นการติดตั้งแบบใด โดยมีตัวเลือกดังนี้
               Upgrade : ติดตั้ง   Windows Vista แบบอัพเดต ใช้ในกรณีที่เราติดตั้งและใช้งาน Windows เวอร์ชั่นก่อนหน้านี้บนเครื่อง โดยระบบจะเก็บไฟล์ข้อมูล
                                  โปรแกรมและค่าการเซตระบบไว้คงเดิม
               Custom  : เลือกกำหนดการติดตั้งด้วยตนเอง โดยโปรแกรมจะให้เรากำหนดไดรว์สำหรับติดตั้งต่อไป ในที่นี้เราเลือกการติดตั้งแบบ Custom

    

          6. เลือกไดรว์สำหรับติดตั้ง Windows Vista ซึ่งต้องมีพื้นที่ว่างอย่างน้อย 15 GB และคลิกเมาส์ที่ปุ่ม  เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนถัดไปจากนั้นโปรแกรม
ติดตั้งจะทำการคัดลอกไฟล์ที่จำเป็นลงบนเครื่อง และเริ่มต้นติดตั้ง Windows Vista ซึ่งขั้นตอนนี้จะใช้เวลานานพอสมควร



          7. หลังจากติดตั้งเสร็จแล้ว จะเข้าสู่หน้าต่าง Choose a user name and picture ให้เราระบุค่าต่าง ๆ ดังนี้
หัวข้อ Type a user name :     ระบุชื่อผุ้ใช้
หัวข้อ Type a password :       ระบุรหัสผ่านสำหรับชื่อนี้
หัวข้อ Choose a picture... :    เลือกรูปภาพประจำตัว
และคลิกเมาส์ที่ปุ่ม



          8. หน้าต่างถัดมาเป็นการระบุชื่อให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ สำหรับใช้งานในเครือข่าย โดยตั้งชื่อที่ช่อง Type a computer name รูปด้านล่างเป็นการเลือก
ภาพเริ่มต้นที่จะใช้เป็นพื้นหลังของเดสก์ท็อปใน Windows Vista หลังเลือกภาพแล้ว ให้เราคลิกเมาส์ที่ปุ่ม  เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนถัดไป



          9. เลือกรูปแบบการอัพเดต  Windows Vista  (หลังจากติดตั้งจะมีการอัพเดตเสมอ ๆ  ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งเราสามารถเลือก กำหนดรูปแบบการอัพเดต
ได้ก่อนในส่วนนี้) โดยมีตัวเลือกต่าง ๆ ดังนี้
Use recommended settings :          เลือกกำหนดค่ามาตรฐานที่ระบบกำหนดไว้ให้เกี่ยวกับการอัพเดต Windows
Install important updates only :       เลือกอัพเดตเฉพาะส่วนที่สำคัญ หรือปัญหาที่ต้องแก้ไขจริง ๆ เท่านั้น (Critical updates)
Ask me later :                                       ก่อนอัพเดต ให้มีหน้าต่างถามก่อนทุกครั้งว่าต้องการอัพเดตหรือไม่

          ในที่นี้เราเลือกกำหนดตามมาตรฐานที่ระบบกำหนดไว้เบื้องต้น



          10. หน้าต่างถัดมาเป็นการกำหนดไทม์โซน (Timezone) และระบุค่าวัน/เวลา (Date) ให้กับระบบ จากนั้นคลิกเมาส์ที่ปุ่ม



          11. คลิกเมาส์ปุ่ม  ก็เป็นอันจบขั้นตอนการติดตั้ง และกำหนดค่าเบื้องต้นให้กับ Windows Vista

          ระบบจะทำการรีสตาร์ทเครื่อง  และเมื่อเข้ามาอีกครั้ง หากเครื่องของเราเชื่อมต่ออยู่กับระบบเครือข่าย Windows Vista จะค้นหาเครือข่าย และเราสามารถ
ทำงานด้วยได้ทันที    จากนั้นจึงเข้าสู่การทำงานบน    Windows Vista   เป็นครั้งแรก   (พร้อมด้วยแบ็คกราวด์ที่เรากำหนดในขั้นตอนติดตั้ง) โดยปรากฏหน้าต่าง
Welcome Center ที่เราเลือกกำหนดค่าการใช้งานต่าง ๆ ในเบื้องต้นได้

3. การติดตั้งโปรแกรมใหม่ใน Windows
          บนระบบปฏิบัติการ Windows นั้นจะมีโปรแกรมพื้นฐานบางส่วนให้เราสามารถเลือกใช้งานได้ทันที เช่น โปรแกรม Paint, Wordpadหรือโปรแกรมสำหรับ
ดูหนังฟังเพลงอย่าง Windows Media Player เป็นต้น
          หากเราต้องการใช้งานโปรแกรมอื่นๆ ที่นอกเหนือจากนี้ เช่น Microsoft Office, Photoshop หรือ WinAmp เราสามารถนำโปรแกรมเหล่านี้มาติดตั้งลงใน
เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราได้เอง โดยปกติโปรแกรมแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ จะอยู่ในรูปของ CD-ROM ซึ่งต้องทำการติดตั้งในเครื่องของเราก่อนจึงจะใช้งานได้

3.1 ประเภทของโปรแกรมแอพพลิเคชั่น
          การแบ่งโปรแกรมจกาหัวข้อที่ผ่านมา   เป็นการแบ่งออกตามจุดประสงค์ของการใช้งาน แต่หากเราแบ่งประเภทโปรแกรมตามรูปแบบการเสียค่าใช้จ่ายเพื่อ
จะได้โปรแกรมนั้น ๆ มาใช้งาน จะแบ่งออกได้ดังนี้

          1) โปรแกรมประเภทลิขสิทธิ์
          โปรแกรมลิขสิทธิ์ (Copyright) นี้อาจพูดง่าย ๆ ว่า  เป็นโปรแกรมที่ต้องซื้อมาใช้งานนั่นเอง โปรแกรมประเภทนี้มัมีประสิทธิภาพสูง  และมีเสถียรภาพในการ
ใช้งานตามที่เราต้องการแทบทุกอย่าง   เพราะจัดทำขึ้นจากทีมงานของผู้ผลิตอย่างดี และมีการแข่งขันกันสูง ตัวอย่างสำหรับโปรแกรมประเภทนี้ เช่น Microsoft
Office, Adobe Photoshop, Macromedia Flash เป็นต้น

          2) โปรแกรมประเภทฟรีแวร์ (Freeware)
          โปรแกรมประเภทนี้  เป็นโปรแกรมที่เราสามารถหามาติดตั้งใช้งานได้ฟรี ส่วนใหญ่จะมาจากการดาวน์โหลดฟรีจากเว็บไซต์ที่ให้บริการทางด้านนี้ โปรแกรม
ฟรีแวร์ส่วนใหญ่  จามาจากผู้ผลิตที่เขียนโปรแกรมมาเพื่อใช้งานเฉพาะด้านเจาะจง  และนำออกมาให้ผู้อื่นได้ลองใช้ร่วมกันโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ นี่คือข้อดีของ
โปรแกรมประเภทนี้

          3) โปรแกรมประเภทแชร์แวร์ (Shareware)
          โปรแกรมประเภทนี้อาจกล่าวได้ว่า อยู่กึ่งกลางระหว่างโปแกรมที่แจกจ่ายให้ใช้งานได้ฟรี และที่ต้องซื้อมาใช้งานจริงด้วย เพราะโปรแกรมจะให้เราสามารถ
นำไปติตดั้งเพื่อทดลองใช้งานได้ก่อน  และกำหนดระยะเวลาที่เราสามารถเข้าใช้งานได้ หรืออาจทำงานได้เพียงบางฟังก์ชั่นเท่านั้น  ถ้าอยากใช้โดยไม่จำกัดระยะ
เวลาการใช้งานก็ต้องจ่ายเพื่อนำเวอร์ชั่นจริงมาใช้งานต่อไป

3.2 ตัวอย่างการติดตั้งโปรแกรม
          การติดตั้งโปรแกรม  จะมีขั้นตอนที่คล้ายกัน ดังนั้นจึงขอยกตัวอย่างเพียง 1 ตัวอย่าง คือ  การติดตั้งโปรแกรม Microsoft Office 2003 ส่วนสำคัญที่เราต้อง
ทราบก็คือ  รหัสสำหรับการติดตั้งโปรแกรมนั้น หรือเรียกกันว่า Serial Number หรือ Product Key ซึ่งหากเราซื้อมาอย่างถูกลิขสิทธิ์ รหัสเหล่านี้จะปรากฏอยู่บน
กล่องสินค้าอยู่แล้ว
          ก่อนอื่นให้เราปิดโปรแกรมทั้งหมดที่เปิดอยู่   ใส่แผ่นติดตั้ง Office 2003 ในไดรว์ซีดี   โปรแกรมติดตั้งจะทำงานโดยอัตโนมัติ และเริ่มขั้นตอนการติดตั้งโปร
แกรมดังนี้



การติดตั้งระบบปฎิบัติการ Windows และโปรแกรมประยุกต์
           


1. จากหน้าต่างช่วยในการติดตั้งโปรแกรมของ   Microsoft Office 2003   ให้เราป้อนรหัสสำหรับติดตั้งโปรแกรมในช่อง Product Key (เราจะพบรหัสนี้ได้
หลังกล่องใส่แผ่นซีดีติดตั้ง หรืออาจเป็นเอกสารที่มาในกล่อง Office 2003) และคลิกเมาส์ที่ปุ่ม



          2. ป้อนชื่อ และบริษัท และคลิกเมาส์ที่ปุ่ม



          3. ต่อไปเป็นข้อตกลงเกียวกับการใช้งาน Office 2003 ให้คลิกเลือก I accept the terms in the License Agreement เพื่อยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวจึงจะ
ติดตั้งโปรแกรมต่อได้ จากนั้นให้คลิกเมาส์ที่ปุ่ม



          4. ในขั้นตอนนี้เราสามารถเลือกติดตั้ง Office 2003 แบบทั่วไป (Typical Install) หรือเลือกติดตั้งแบบสมบูรณ์ (Complete) หรือจะกำหนดรายละเอียด
การติดตั้งด้วยตนเองก็ได้ (Custom) และคลิกเมาส์ที่ปุ่ม



          5. โปรแกรมจะเริ่มต้นทำการติดตั้งOffice 2003ซึ่งขั้นตอนนี้จะใช้เวลาพอสมควรหลังจากการติดตั้ง Office 2003 เสร็จสิ้นให้คลิกเมาส์ปุ่ม

          หลังจากนั้นเราสามารถเข้าใช้งานโปรแกรมที่เพิ่งติดตั้งเสร็จนั้นได้ทันที (     บางโปรแกรมอาจต้องให้รีสตาร์ทเครื่องก่อน)      จากเมนู All Programs ของ
Windows หรือในบางโปรแกรมอาจสร้าง Shortcut ของโปรแกรมไว้บนหน้าจอเดสก์ท็อปเพื่อให้เราดับเบิ้ลคลิกเข้าใช้งานโปรแกรมได้ทันที
          การติดตั้งโปรแกรมใหม่นั้น แต่ละโปรแกรมไม่ได้มีขั้นตอนหรือหน้าต่างช่วยในการติดตั้งเหมือนกันทั้งหมดเราจำเป็นต้องอ่านรายละเอียดภายในหน้าต่างนั้น

เพื่อให้การติดตั้งถูกต้อง และไม่เกิดปัญหาขึ้นกับระบบภายหลังด้วย