วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การติดตั้งระบบปฎิบัติการ Windows และโปรแกรมประยุกต์

หลังจากที่จัดเตรียมฮาร์ดดิสก์ในการติดตั้งเครื่องใหม่ หรือฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์เดิมที่ระบบเกิดความเสียหายแล้ว  ต่อไปเป็นขั้นตอนการติดตั้งระบบปฏิบัติการ
ลงบนเครื่อง   ระบบปฏิบัติการจะเป็นเหมือนส่วน   ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ทั้งหมดภายในเครื่อง   เป็นตัวกลางระหว่างโปรแกรมใช้งานต่าง ๆ กับ
อุปกรณ์บนเครื่อง โดยในบทนี้จะกล่าวถึงการติดตั้งของระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟท์ที่ได้รับความนิยมอย่าง Windows XP และ Windows Vista
 1. ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows XP
          Windows XP เป็นระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟท์ ถูก
ออกแบบให้มีสีสัน   อินเทอร์เฟสที่ดูสดใส  ซึ่งมีอยู่ 3 รุ่นด้วยกัน
คือ    Windows  XP  Home  Edition    สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป
Windows  XP  Professional     สำหรับการใช้งานในระดับสูง
และงานด้านเครือข่าย และ Windows XP Tablet PC Edition
ที่ทำงานอยู่บนเครื่อง Tablet PC       
            Windows XP ได้พัฒนาระบบการติดตั้งที่ง่ายขึ้น มาพร้อมตัวช่วยต่างๆ ที่ทำให้การติตดั้งทำได้สะดวกกว่ารุ่นก่อน ๆ มาก เช่น มีตัวเลือกให้เราฟอร์แมตพาร์
ทิชั่นบนฮาร์ดดิสก์ก่อนติดตั้ง รวมทั้งสามารถเลือกระบบจัดเก็บไฟล์ที่ใช้กับพาร์ทิชั่นที่จะติดตั้ง Windows XP ได้อีกด้วย (สามารถเลือกได้ทั้งระบบ FAT32 หรือ
NTFS ที่ใช้กับ Windows 2000/NT ได้)






1.1 ความต้องการของระบบสำหรับติดตั้ง Windows XP
          สำหรับการทำงานขั้นพื้นฐาน คอมพิวเตอร์ที่ใช้ติตตั้ง Windows XP จะต้องมีคุณสมบัติอย่างน้อย ดังนี้

                ส่วนประกอบ                        รายละเอียดขั้นต่ำ
                ซีพียู                       ความเร็ว 300MHz ขึ้นไป (แต่หากต้องการประสิทธิภาพในการทำงาน
ที่สูงขึ้นควรใช้ความเร็ว 600 MHz ขึ้นไป)
                                                 
                หน่วยความจำ                      ขนาด 128 MB ขึ้นไป
                                                 
                ฮาร์ดดิสก์                              พื้นที่ว่าง 1.5 GB ขึ้นไป
                                                 
                จอแสดงผล                           VGA หรือ Super VGA ความละเอียด 800 X 600 หรือสูงกว่า
                                                 
                อุปกรณ์อื่น ๆ                        ไดรว์ CD-ROM/RW/DVD, ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์, การ์ดเครือข่าย และโม
เด็ม

1.2 ขั้นตอนการติดตั้ง Windows XP
          ในการติตตั้ง Windows XP  ลงบนเครื่องใหม่ที่ยังไม่มีการติดตั้งระบบปฏิบัติการลงไป หรือหลังเราฟอร์แมตเครื่องแล้ว สามารถทำได้โดยให้เครื่องบู๊ตจาก
แผ่นซีดีติตตั้ง Windows XP และเข้าสู่การติดตั้ง Windows ต่อไป ดังนี้

          1. ใส่แผ่นซีดีติดตั้ง Windows XP ในเครื่อง   จากนั้นเครื่องจะบู๊ตจากแผ่นติดตั้งนี้ ซึ่งจำเข้าสู่หน้าจอเมนู Windows XP Setup ให้กด <Enter> เพื่อเลือก
เริ่มต้นการติดตั้ง Windows XP



          2. จะเข้าสู่หน้าต่างข้อตกลงในการติดตั้ง (Windows XP Licensing Agreement) ให้กด <F8> เพื่อเลือกตกลง และเข้าสู่ขั้นตอนต่อ
 3. หน้าจอถัดมา    จะแสดงพาร์ทิชั่นพร้อมขนาดของพาร์ทิชั่นทั้งหมดที่มีอยู่บนเครื่องของเรา    ให้เลือกพาร์ทิชั่นที่ต้องการติดตั้ง    Windows XP  และกด
<Enter>
 4. จากพาร์ทิชั่นที่เลือก โปรแกรมติดตั้งจะให้เลือกจัดการกับพาร์ทิชั่น ดังนี้
 เลือก Format พาร์ทิชั่นและแปลงระบบจัดเก็บไฟล์เป็น NTFS (Format อย่างเร็ว)
เลือก Format พาร์ทิชั่นและแปลงระบบจัดเก็บไฟล์เป็น FAT32 (Format อย่างเร็ว)
เลือก Format พาร์ทิชั่นและแปลงระบบจัดเก็บไฟล์ให้เป็นแบบ NTFS
เลือก Format พาร์ทิชั่นและแปลงระบบจัดเก็บไฟล์ให้เป็นแบบ FAT32
เปลี่ยนแปลงรูปแบบการเก็บข้อมูลบนพาร์ทิชั่นเป็นแบบ NTFS
ให้ทำการคงระบบเดิมไว้ โดยไม่ต้องฟอร์แมตและเปลี่ยนแปลงระบบไฟล์
          ในที่นี้ทำการเลือกให้ฟอร์แมตพาร์ทิชั่นที่เลือก และเปลี่ยนแปลงระบบไฟล์เป็นแบบ NTFS จากนั้นให้กด <Enter> จากนั้นโปรแกรมติดตั้งจะคัดลอกไฟล์ที่
จำเป็นลงในเครื่อง และทำการรีสตาร์ทเครื่องเพื่อเข้าสู่การติดตั้ง Windows XP
  5. โปรแกรมติตดั้งจะสอบถามเราถึงสถานที่ (ประเทศ) และภาษาสำหรับติดตั้งลงใน Windows XP ในส่วนนี้ข้ามไปได้ โดยคลิกเมาส์ที่ปุ่ม
6. จากนั้นโปรแกรมติดตั้งจะให้เราใส่ชื่อผู้ใช้และหน่วยงาน และระบุ Product Key ของ Windows XP และคลิกเมาส์ที่ปุ่ม




          7. กำหนดวันและเวลาที่กรอบ Date & Time และกำหนดช่วงเวลาของภูมิภาคที่เราอยู่ กำหนด Time Zone จากนั้นคลิกเมาส์ที่ปุ่ม
    8. โปรแกรมจะให้เรากำหนดการติดตั้งการทำงานบนระบบเครือข่าย (Network Settings) โดยมีตัวเลือกดังต่อไปนี้
 ตัวเลือก                คำอธิบาย
                Typical settings :                              กำหนดให้มีการติดตั้งระบบเครือข่ายแบบปกติ โดยจะมีการติดตั้งการเชื่อม
ต่อให้กับเครื่องของเราเป็นเครื่องลูกข่าย ให้สามารถกำหนดไฟล์เพื่อใช้งาน
ร่วมกันในเครือข่าย พร้อมติตดั้งโปรโตคอล TPC/IP ให้โดยอัตโนมัติ
                                                 
                Custom settings :                            เลือกกำหนดส่วนการติดตั้งระบบเครือข่ายด้วยตนเอง เลือกการติดตั้งระบบ
เครือข่ายแบบ Typical settings แล้วคลิกเมาส์ที่ปุ่ม
            9. เมื่อทำการติดตั้งโปรแกรมเสร็จสมบูรณ์แล้ว      โปรแกรมติดตั้งจะรีสตาร์ท และเริ่มต้นระบบขึ้นใหม่       หน้าจอแรกที่ปรากฏขึ้นคือหน้าต่างยินดีต้อนรับสู่
Microsoft Windows ให้เราคลิกเมาส์ที่ปุ่ม  Next
10. จากนั้นเป็นการลงทะเบียนกับไมโครซอฟท์ และการกำหนดผู้ใช้ที่สามารถเข้าใช้  Windows XP  โดยกำหนดเป็น User Account เพื่อใช้ล็อกออนเข้า
สู่การใช้งาน Windows ในช่อง Your name, 2nd User, 3rd User, ... ตามลำดับ
  จากนั้นจะเข้าสู่หน้าจอล็อกออนเข้าใช้งาน   Windows   XP   เราสามารถคลิกเมาส์เลือกชื่อ   User Account   เพื่อเข้าสู่ Windows XP    ได้ทันที (User Account เหล่านี้ เราสามารถเพิ่มและปรับแต่งได้ในภายหลัง)

2. ติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows Vista
          สำหรับ Windows Vista แต่ละรุ่นนั้น ต้องการสเป็คเครื่องที่แตกต่างกันไป ซึ่งสเป็คเครื่องดังกล่าวนี้ถือเป็นความต้องการขั้นต่ำ เพื่อใช้ Windows Vista ได้อย่างราบรื่น โดยสเป็คเครื่องจะเน้นไปที่ระบบแสดงผลของเครื่อง และพื้นที่ว่างที่มากถึง 15 GB ดังรายละเอียดต่อไปนี้

2.1 ความต้องการของระบบสำหรับติดตั้ง Windows Vista
          แบ่งสเป็คเครื่องติดตั้ง Windows Vista ออกเป็น 2 ระดับ คือ สเป็คเครื่องแบบ Capable PC และ Premium Ready PC ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

                สเป็คเครื่องแบบ                  หน้าที่การทำงาน
                Capable PC                        เป็นสเป็คเครื่องขั้นต่ำที่ขอให้รัน   Windows Vista   ได้ก็พอ   โดยสเป็คเครื่องระดับนี้สามารถใช้ติดตั้ง
Windows Vista   ได้   แต่ไม่รองรับส่วนการแสดงผล 3 มิติที่เรียกว่า Aero ปัจจุบันผู้ผลิตและจำหน่าย
เครื่องคอมพิวเตอร์   จะมีโลโก้ Windows Vista Capable    ที่แสดงว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนี้สามารถรัน
Windows Vista ได้
                                                 
                Premium PC                      เพื่อการใช้งาน   Windows Vista   ได้อย่างเต็มทุกความสามารถ   โดยเฉพาะการใช้การแสดงผลแบบ
Windows Aero   เช่น การดูภาพตัวอย่างของไฟล์แบบ Real-time การเลือกสลับการทำงานของหน้า
ต่างแบบ 3 มิติ การปรับขนาดแบบสเกล การแสดงผลของหน้าต่างแบบโปร่งใส เป็นต้น
                                                 

          สำหรับรายละเอียดสเป็คเครื่องระหว่าง Capable PC และ Premium Ready PC มีดังนี้

                                                Windows Vista Capable PC                         Windows Vista Premium PC
                หน่วยประมวลผล (ซีพียู)                     ความเร็ว 800 MHz ขึ้นไป                  ความเร็ว 1 GHz ขึ้นไป
(แบบ 32 บิต หรือแบบ 64 บิต)
                                                                                 
                หน่วยความจำ                      512 MB ขึ้้นไป                     1 GB ขึ้นไป
                                                                                 
                ระบบแสดงผล                      รองรับ DirectX9                
เพื่อการแสดงผล Windows Aero
ควรรองรับ

DirectX 9
WDDM Driver
Pixel Shader 2.0
32 บิต/พิกเซล
                                                                                 
                แรมบนการ์ดแสดงผล                          -                              128 MB
                                                                                 
                ฮาร์ดดิสก์                              40 GB
และมีพื้นที่ว่าง 15 GB                         40 GB
และมีพื้นที่ว่าง 15 GB
                                                                                 
                อื่น ๆ                      ไดรว์ดีวีดี/อินเทอร์เน็ต                         ไดรว์ดีวีดี/อินเทอร์เน็ต
                                                                                 

2.2 ขั้นตอนการติดตั้ง Windows Vista
          Windows Vista   มีขั้นตอนการติดตั้งที่ไม่ซับซ้อน   เพียงแต่อาจใช้เวลานานสักหน่อย ในตัวอย่างนี้เป็นการติดตั้งแบบลงใหม่หมด (Clean install) ลงบน
เครื่องที่ยังไม่มีการติดตั้งระบบปฏิบัิติการใด ๆ    ซึ่งตัว   Windows Vista   จะมีการฟอร์แมต  และจัดการระบบไฟล์ให้เราอัตโนมัติด้วย     เมื่อเราเตรียมแผ่นติดตั้ง
Windows Vista พร้อมแล้ว ให้บู๊ตเครื่องจากแผ่นนี้ ซึ่งระบบจะรันโปรแกรมติดตั้งขึ้นมาอัตโนมัติ



          1. โปรแกรมติดตั้ง Windows Vista จะถูกรันขึ้นมา ให้เรากำหนดภาษาที่ใช้สำหรับการติดตั้งดังนี้
                    Language to install : ระบุภาษาที่ใช้สำหรับหน้าต่างติดตั้งโปรแกรม
                    Time and currency format : ระบุมาตรฐานวัน/เวลาและสกุลเงินที่ใช้
                    Keyboard or input method : ระบุภาษาหลักที่ใช้บนคีย์บอร์ด
          จากนั้นคลิกเมาส์ที่ปุ่ม  เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนถัดไป



          2. คลิกเมาส์ที่ปุ่ม Install Now เพื่อเริ่มต้นเข้าสู่การติดตั้ง

          3. ระบุหมายเลขรหัสสินค้า   (Product Key)   ของ  Windows Vista  เพื่อสามารถติดตั้งต่อไปได้ (Windows Vista มีระบบ Activation สำหรับตรวจสอบ
ความเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ภายหลังจากติดตั้งและเริ่มใช้งานระบบด้วย) จากนั้นให้คลิกเมาส์ที่ปุ่ม  เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนถัดไป



          4. หน้าต่างถัดไปเป็นข้อตกลงในการใช้งานระบบปฏิบัติการ   Windows Vista   พร้อมทั้งบอกรายละเอียดเวอร์ชั่นของ Windows Vista   ให้ทราบ ให้เรา
เลือก I accept the license terms เพื่อยอมรับ และคลิกเมาส์ที่ปุ่ม



          5. เลือกรูปแบบการติดตั้ง Windows Vista ลงบนเครื่อง ว่าเป็นการติดตั้งแบบใด โดยมีตัวเลือกดังนี้
               Upgrade : ติดตั้ง   Windows Vista แบบอัพเดต ใช้ในกรณีที่เราติดตั้งและใช้งาน Windows เวอร์ชั่นก่อนหน้านี้บนเครื่อง โดยระบบจะเก็บไฟล์ข้อมูล
                                  โปรแกรมและค่าการเซตระบบไว้คงเดิม
               Custom  : เลือกกำหนดการติดตั้งด้วยตนเอง โดยโปรแกรมจะให้เรากำหนดไดรว์สำหรับติดตั้งต่อไป ในที่นี้เราเลือกการติดตั้งแบบ Custom

    

          6. เลือกไดรว์สำหรับติดตั้ง Windows Vista ซึ่งต้องมีพื้นที่ว่างอย่างน้อย 15 GB และคลิกเมาส์ที่ปุ่ม  เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนถัดไปจากนั้นโปรแกรม
ติดตั้งจะทำการคัดลอกไฟล์ที่จำเป็นลงบนเครื่อง และเริ่มต้นติดตั้ง Windows Vista ซึ่งขั้นตอนนี้จะใช้เวลานานพอสมควร



          7. หลังจากติดตั้งเสร็จแล้ว จะเข้าสู่หน้าต่าง Choose a user name and picture ให้เราระบุค่าต่าง ๆ ดังนี้
หัวข้อ Type a user name :     ระบุชื่อผุ้ใช้
หัวข้อ Type a password :       ระบุรหัสผ่านสำหรับชื่อนี้
หัวข้อ Choose a picture... :    เลือกรูปภาพประจำตัว
และคลิกเมาส์ที่ปุ่ม



          8. หน้าต่างถัดมาเป็นการระบุชื่อให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ สำหรับใช้งานในเครือข่าย โดยตั้งชื่อที่ช่อง Type a computer name รูปด้านล่างเป็นการเลือก
ภาพเริ่มต้นที่จะใช้เป็นพื้นหลังของเดสก์ท็อปใน Windows Vista หลังเลือกภาพแล้ว ให้เราคลิกเมาส์ที่ปุ่ม  เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนถัดไป



          9. เลือกรูปแบบการอัพเดต  Windows Vista  (หลังจากติดตั้งจะมีการอัพเดตเสมอ ๆ  ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งเราสามารถเลือก กำหนดรูปแบบการอัพเดต
ได้ก่อนในส่วนนี้) โดยมีตัวเลือกต่าง ๆ ดังนี้
Use recommended settings :          เลือกกำหนดค่ามาตรฐานที่ระบบกำหนดไว้ให้เกี่ยวกับการอัพเดต Windows
Install important updates only :       เลือกอัพเดตเฉพาะส่วนที่สำคัญ หรือปัญหาที่ต้องแก้ไขจริง ๆ เท่านั้น (Critical updates)
Ask me later :                                       ก่อนอัพเดต ให้มีหน้าต่างถามก่อนทุกครั้งว่าต้องการอัพเดตหรือไม่

          ในที่นี้เราเลือกกำหนดตามมาตรฐานที่ระบบกำหนดไว้เบื้องต้น



          10. หน้าต่างถัดมาเป็นการกำหนดไทม์โซน (Timezone) และระบุค่าวัน/เวลา (Date) ให้กับระบบ จากนั้นคลิกเมาส์ที่ปุ่ม



          11. คลิกเมาส์ปุ่ม  ก็เป็นอันจบขั้นตอนการติดตั้ง และกำหนดค่าเบื้องต้นให้กับ Windows Vista

          ระบบจะทำการรีสตาร์ทเครื่อง  และเมื่อเข้ามาอีกครั้ง หากเครื่องของเราเชื่อมต่ออยู่กับระบบเครือข่าย Windows Vista จะค้นหาเครือข่าย และเราสามารถ
ทำงานด้วยได้ทันที    จากนั้นจึงเข้าสู่การทำงานบน    Windows Vista   เป็นครั้งแรก   (พร้อมด้วยแบ็คกราวด์ที่เรากำหนดในขั้นตอนติดตั้ง) โดยปรากฏหน้าต่าง
Welcome Center ที่เราเลือกกำหนดค่าการใช้งานต่าง ๆ ในเบื้องต้นได้

3. การติดตั้งโปรแกรมใหม่ใน Windows
          บนระบบปฏิบัติการ Windows นั้นจะมีโปรแกรมพื้นฐานบางส่วนให้เราสามารถเลือกใช้งานได้ทันที เช่น โปรแกรม Paint, Wordpadหรือโปรแกรมสำหรับ
ดูหนังฟังเพลงอย่าง Windows Media Player เป็นต้น
          หากเราต้องการใช้งานโปรแกรมอื่นๆ ที่นอกเหนือจากนี้ เช่น Microsoft Office, Photoshop หรือ WinAmp เราสามารถนำโปรแกรมเหล่านี้มาติดตั้งลงใน
เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราได้เอง โดยปกติโปรแกรมแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ จะอยู่ในรูปของ CD-ROM ซึ่งต้องทำการติดตั้งในเครื่องของเราก่อนจึงจะใช้งานได้

3.1 ประเภทของโปรแกรมแอพพลิเคชั่น
          การแบ่งโปรแกรมจกาหัวข้อที่ผ่านมา   เป็นการแบ่งออกตามจุดประสงค์ของการใช้งาน แต่หากเราแบ่งประเภทโปรแกรมตามรูปแบบการเสียค่าใช้จ่ายเพื่อ
จะได้โปรแกรมนั้น ๆ มาใช้งาน จะแบ่งออกได้ดังนี้

          1) โปรแกรมประเภทลิขสิทธิ์
          โปรแกรมลิขสิทธิ์ (Copyright) นี้อาจพูดง่าย ๆ ว่า  เป็นโปรแกรมที่ต้องซื้อมาใช้งานนั่นเอง โปรแกรมประเภทนี้มัมีประสิทธิภาพสูง  และมีเสถียรภาพในการ
ใช้งานตามที่เราต้องการแทบทุกอย่าง   เพราะจัดทำขึ้นจากทีมงานของผู้ผลิตอย่างดี และมีการแข่งขันกันสูง ตัวอย่างสำหรับโปรแกรมประเภทนี้ เช่น Microsoft
Office, Adobe Photoshop, Macromedia Flash เป็นต้น

          2) โปรแกรมประเภทฟรีแวร์ (Freeware)
          โปรแกรมประเภทนี้  เป็นโปรแกรมที่เราสามารถหามาติดตั้งใช้งานได้ฟรี ส่วนใหญ่จะมาจากการดาวน์โหลดฟรีจากเว็บไซต์ที่ให้บริการทางด้านนี้ โปรแกรม
ฟรีแวร์ส่วนใหญ่  จามาจากผู้ผลิตที่เขียนโปรแกรมมาเพื่อใช้งานเฉพาะด้านเจาะจง  และนำออกมาให้ผู้อื่นได้ลองใช้ร่วมกันโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ นี่คือข้อดีของ
โปรแกรมประเภทนี้

          3) โปรแกรมประเภทแชร์แวร์ (Shareware)
          โปรแกรมประเภทนี้อาจกล่าวได้ว่า อยู่กึ่งกลางระหว่างโปแกรมที่แจกจ่ายให้ใช้งานได้ฟรี และที่ต้องซื้อมาใช้งานจริงด้วย เพราะโปรแกรมจะให้เราสามารถ
นำไปติตดั้งเพื่อทดลองใช้งานได้ก่อน  และกำหนดระยะเวลาที่เราสามารถเข้าใช้งานได้ หรืออาจทำงานได้เพียงบางฟังก์ชั่นเท่านั้น  ถ้าอยากใช้โดยไม่จำกัดระยะ
เวลาการใช้งานก็ต้องจ่ายเพื่อนำเวอร์ชั่นจริงมาใช้งานต่อไป

3.2 ตัวอย่างการติดตั้งโปรแกรม
          การติดตั้งโปรแกรม  จะมีขั้นตอนที่คล้ายกัน ดังนั้นจึงขอยกตัวอย่างเพียง 1 ตัวอย่าง คือ  การติดตั้งโปรแกรม Microsoft Office 2003 ส่วนสำคัญที่เราต้อง
ทราบก็คือ  รหัสสำหรับการติดตั้งโปรแกรมนั้น หรือเรียกกันว่า Serial Number หรือ Product Key ซึ่งหากเราซื้อมาอย่างถูกลิขสิทธิ์ รหัสเหล่านี้จะปรากฏอยู่บน
กล่องสินค้าอยู่แล้ว
          ก่อนอื่นให้เราปิดโปรแกรมทั้งหมดที่เปิดอยู่   ใส่แผ่นติดตั้ง Office 2003 ในไดรว์ซีดี   โปรแกรมติดตั้งจะทำงานโดยอัตโนมัติ และเริ่มขั้นตอนการติดตั้งโปร
แกรมดังนี้



การติดตั้งระบบปฎิบัติการ Windows และโปรแกรมประยุกต์
           


1. จากหน้าต่างช่วยในการติดตั้งโปรแกรมของ   Microsoft Office 2003   ให้เราป้อนรหัสสำหรับติดตั้งโปรแกรมในช่อง Product Key (เราจะพบรหัสนี้ได้
หลังกล่องใส่แผ่นซีดีติดตั้ง หรืออาจเป็นเอกสารที่มาในกล่อง Office 2003) และคลิกเมาส์ที่ปุ่ม



          2. ป้อนชื่อ และบริษัท และคลิกเมาส์ที่ปุ่ม



          3. ต่อไปเป็นข้อตกลงเกียวกับการใช้งาน Office 2003 ให้คลิกเลือก I accept the terms in the License Agreement เพื่อยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวจึงจะ
ติดตั้งโปรแกรมต่อได้ จากนั้นให้คลิกเมาส์ที่ปุ่ม



          4. ในขั้นตอนนี้เราสามารถเลือกติดตั้ง Office 2003 แบบทั่วไป (Typical Install) หรือเลือกติดตั้งแบบสมบูรณ์ (Complete) หรือจะกำหนดรายละเอียด
การติดตั้งด้วยตนเองก็ได้ (Custom) และคลิกเมาส์ที่ปุ่ม



          5. โปรแกรมจะเริ่มต้นทำการติดตั้งOffice 2003ซึ่งขั้นตอนนี้จะใช้เวลาพอสมควรหลังจากการติดตั้ง Office 2003 เสร็จสิ้นให้คลิกเมาส์ปุ่ม

          หลังจากนั้นเราสามารถเข้าใช้งานโปรแกรมที่เพิ่งติดตั้งเสร็จนั้นได้ทันที (     บางโปรแกรมอาจต้องให้รีสตาร์ทเครื่องก่อน)      จากเมนู All Programs ของ
Windows หรือในบางโปรแกรมอาจสร้าง Shortcut ของโปรแกรมไว้บนหน้าจอเดสก์ท็อปเพื่อให้เราดับเบิ้ลคลิกเข้าใช้งานโปรแกรมได้ทันที
          การติดตั้งโปรแกรมใหม่นั้น แต่ละโปรแกรมไม่ได้มีขั้นตอนหรือหน้าต่างช่วยในการติดตั้งเหมือนกันทั้งหมดเราจำเป็นต้องอ่านรายละเอียดภายในหน้าต่างนั้น

เพื่อให้การติดตั้งถูกต้อง และไม่เกิดปัญหาขึ้นกับระบบภายหลังด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น